ม.นเรศวร โดยสถานพัฒนาวิชาการด้านภาษา เปิดตัวระบบที่ปรึกษาออนไลน์ ยกระดับ SME สมุนไพรเพื่อการส่งออก



สถานพัฒนาวิชาการด้านภาษา มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมภาคเหนือ สมาพันธ์ SME ภาคเหนือ และเครือข่ายหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจภาคเหนือ แถลงข่าวเปิดตัวระบบที่ปรึกษาออนไลน์ หัวข้อ “ชุดเครื่องมือการให้บริการสมุนไพรและอุตสาหกรรมสุขภาพ (Spa)” ด้วยการนำเสนอเครื่องมือทางภาษาเพื่อช่วยเหลือ SME และ OTOP ในการยกระดับผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อการส่งออก ภายใต้โครงการยกระดับขีดความสามารถในการเป็นศูนย์กลางธุรกิจสมุนไพรของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ณ โรงแรมธารินทร์ จังหวัดเชียงใหม่ ในงานได้รับเกียรติจาก นายประจวบ กันธิยะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในการแถลงข่าว ท่ามกลางผู้สนใจเข้าร่วมกว่า 100 คน จากผู้ประกอบการธุรกิจสมุนไพร ทั้งผลิตภัณฑ์และบริการ จากกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตร และอุตสาหกรรมบริการ รวมทั้งหน่วยงานในเครือข่ายหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และใกล้เคียง


โดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้กล่าวเน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนากลไกในการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 ยุทธศาสตร์ด้านการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ ในประเด็นการส่งเสริมผู้ประกอบการเพื่อเอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจนานาชาติ



สำหรับ รศ.ดร.สุขกิจ ยะโสธรศรีกุล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวถึงความพร้อมของมหาวิทยาลัยที่จะสนับสนุนเครื่องมือทางด้านภาษา เพื่อการยกระดับผู้ประกอบการให้มีความสามารถในการประกอบธุรกิจนานาชาติ



และ รศ.ดร.พรชุลี อาชวอำรุง สถานพัฒนาวิชาการด้านภาษา มหาวิทยาลัยนเรศวร และหัวหน้าโครงการ กล่าวถึงการยกระดับขีดความสามารถในการเป็นศูนย์กลางธุรกิจสมุนไพรฯ ตามแผนบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ด้านเสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ วัตถุประสงค์ของโครงการคือ เตรียมชุดเครื่องมือการแปลผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การให้บริการสมุนไพรและอุตสาหกรรมสุขภาพ (Spa) และการเจรจาสัญญาทางการค้า เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการให้มีทักษะในการเจรจาทางการค้า การสื่อสาร การทำสัญญาการค้า และการนำเสนอสินค้าให้มีความน่าสนใจ รวมทั้งมีหน่วยงานที่ปรึกษาในการให้คำปรึกษาอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน และสนับสนุนผู้ประกอบการในการพัฒนาทางด้านการค้าได้อย่างแท้จริง ขณะนี้ ทางโครงการอยู่ระหว่างการดำเนินการฝึกอบรมใน 17 จังหวัดภาคเหนือ และจัดการอบรมไปแล้วใน 11 จังหวัด คือ อุทัยธานี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ แพร่ สุโขทัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ ได้รับการตอบรับดีมาก ผู้รับการฝึกอบรมประเมินว่าชุดเครื่องมือมีประโยชน์มาก และตรงตามความต้องการ สามารถแปลฉลากผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้อง ทำให้มั่นใจในการสนทนากับลูกค้าต่างชาติ การร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ และเข้าใจการทำสัญญาทางการค้าอย่างถูกต้อง แม่นยำ และได้แนวทางที่รัดกุมตามกฎหมาย ทั้งยังมีโอกาสสร้างเครือข่ายในกลุ่มประกอบการเกษตรสมุนไพรในภาคเหนือด้วย ในการเปิดตัวครั้งนี้ ทางโครงการได้จัดนิทรรศการและมีการเปิดบูธของผู้ประกอบการบางส่วนอีกด้วย













ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

องค์กรพันธมิตรภาครัฐ-เอกชน จับมือสร้างสรรค์โครงการต้นแบบ​ ลำพูน​ สุขก๋าย​ สบายใจ๋ (Lamphun​ Healing​ Town)​ พัฒนาพื้นที่แห่งความสุขกายสบายใจเมืองเก่าลำพูน

เปิดตัวโครงการ “เยาวชนวัฒนธรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว” ส่งเสริม สร้างสรรค์ เยาวชนให้ได้แสดงความสามารถ และศักยภาพตามความสนใจ ต่อยอดให้เป็นเยาวชนที่มีคุณภาพ

วอลโว่ฉลองครบ 50 ปีในไทย มุ่งก้าวสู่การจำหน่ายเฉพาะรถไฟฟ้าเต็มรูปแบบในปี 2025