ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ นำสื่อมวลชนลงพื้นที่ตรวจติดตามผลโครงการก่อสร้างที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ภายใต้งบประมาณของสำนักนายกรัฐมนตรีในพื้นที่อำเภอหางดง




สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ นำสื่อมวลชนลงพื้นที่ตรวจติดตามผลโครงการก่อสร้างรางส่งน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก แบบตัวยู ลำเหมืองอกนก หมู่ที่ 4 บ้านบวก ตำบลหนองแก๋ว และโครงการก่อสร้างรางระบายน้ำเพื่อการอุปโภคและป้องกันน้ำท่วม ในเขตลำเหมืองพญาบ้านสัน ตำบลสบแม่ข่า อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมา



สำหรับโครงการลำเหมืองอกนก เป็นลำเหมืองสำคัญเส้นหนึ่งในตำบลหนองแก๋ว ที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ทางเกษตรกรรม ใช้หล่อเลี้ยงชีวิตครอบครัวของประชาชนในพื้นที่ทั้งด้านอุปโภคและบริโภค มีสภาพเดิมเป็นลำเหมืองคันดิน มักมีหญ้าและวัชพืชขึ้นกีดขวางทางน้ำ ทำให้น้ำไหลไม่สะดวก ในฤดูน้ำหลากมักเกิดคัน0ตลิ่งทรุดตัว ทำให้ถนนเลียบลำเหมืองเกิดความเสียหายและเป็นอันตรายกับประชาชนที่สัญจรไปมา ดังนั้นเกษตรกรชาวบ้านบวก หมู่ 4 ตำบลหนองแก๋ว จึงขอให้อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ จัดทำโครงการเพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณในอำนาจของรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ตามนัยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรได้มีน้ำใช้อย่างเพียงพอ และมีแหล่งเก็บน้ำตลอดทั้งปี เป็นการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์จากลำเหมืองอกนก ตลอดจนป้องกันการพังทลายของคันตลิ่งที่สร้างความเสียหายให้กับถนนเลียบลำเหมืองดังกล่าว


ระยะเวลาดำเนินงาน
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
หน่วยงานรับผิดชอบ
ที่ทำการปกครองอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
งบประมาณ
ค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ในอำนาจของรองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี (นายวิษณุ  เครืองาม) งบประมาณ 1,700,000.- บาท (หนึ่งล้านเจ็ดแสนบาทถ้วน)


รายละเอียดการก่อสร้าง
ก่อสร้างรางส่งน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก แบบตัวยู ลำเหมืองอกนก หมู่ที่ 4 บ้านบวก ตำบลหนองแก๋ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ขนาดภายในรางกว้าง 1.50 เมตร ลึก 1.20 เมตร ผนังรางหนา 0.12 เมตร ระยะความยาว 288.00 เมตร


ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ ที่ 1 : การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างสมดุลและยั่งยืน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด
ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมกับชุมชน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแผนงานเคหะและชุมชน
ประโยชน์ของโครงการ
ประชาชนในพื้นที่โครงการ 1,900 คน / 500 ครัวเรือน พื้นที่ 2,000 ไร่


ด้านลำเหมืองพญาบ้านสัน ตำบลสบแม่ข่า อำเภอหางดง มีความสำคัญต่อประชาชนในพื้นที่ในการใช้เพื่ออุปโภคและป้องกันน้ำท่วม เนื่องจากชาวบ้านเกาะ หมู่ที่ 3 ตำบลสบแม่ข่า มีพื้นที่ติดแม่น้ำปิงและอยู่ส่วนปลายลำเหมืองพญาบ้านสัน มักเกิดปัญหาน้ำท่วมพื้นที่การเกษตรและบ้านเรือนราษฎรในช่วงฤดูน้ำหลากมาต่อเนื่อง และมักท่วมขังเป็นเวลานานสร้างความเสียหายต่อพืชผลทางการเกษตร และสร้างความเดือดร้อนต่อความเป็นอยู่ของประชาชน ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลสบแม่ข่า จึงมีความจำเป็นต้องเข้ามาดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยจัดทำโครงการก่อสร้างรางระบายน้ำเพื่อการอุปโภคและป้องกันน้ำท่วม เพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณในอำนาจของรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี ตามนัยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีวัตถุประสงค์เพื่อ ช่วยระบายน้ำที่ท่วมขังพื้นที่ชุมชน บ้านเรือน และพื้นที่การเกษตร ให้ลงสู่แม่น้ำปิงโดยเร็วที่สุด ตลอดจนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำจากลำเหมืองพญาบ้านสันเพื่อการอุปโภคให้เกิดประโยชน์สูงสุด



ระยะเวลาดำเนินงาน
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
หน่วยงานรับผิดชอบ
ที่ทำการปกครองอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
งบประมาณ
ค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ในอำนาจของรองนายกรัฐมนตรี
(นายวิษณุ  เครืองาม) วงเงินงบประมาณ 632,500.- บาท (หกแสนสามหมื่นสองพันห้าร้อยบาทถ้วน)


รายละเอียดการก่อสร้าง
ก่อสร้างรางระบายน้ำเพื่อการอุปโภคและป้องกันน้ำท่วม ตำบลสบแม่ข่า อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ขนาดกว้าง 2.50 เมตร สูง 2.20 เมตร ความยาว 53.00 เมตร
ประโยชน์ของโครงการ
ประชาชนในพื้นที่โครงการ 2,550 คน / 320 ครัวเรือน พื้นที่ 2,600 ไร่







ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

องค์กรพันธมิตรภาครัฐ-เอกชน จับมือสร้างสรรค์โครงการต้นแบบ​ ลำพูน​ สุขก๋าย​ สบายใจ๋ (Lamphun​ Healing​ Town)​ พัฒนาพื้นที่แห่งความสุขกายสบายใจเมืองเก่าลำพูน

เปิดตัวโครงการ “เยาวชนวัฒนธรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว” ส่งเสริม สร้างสรรค์ เยาวชนให้ได้แสดงความสามารถ และศักยภาพตามความสนใจ ต่อยอดให้เป็นเยาวชนที่มีคุณภาพ

วอลโว่ฉลองครบ 50 ปีในไทย มุ่งก้าวสู่การจำหน่ายเฉพาะรถไฟฟ้าเต็มรูปแบบในปี 2025