สภาผู้บริโภคเชียงใหม่ เปิดสภาเสวนาหัวข้อการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพของประชาชนในเขตเมืองเชียงใหม่

 



สภาผู้บริโภคเชียงใหม่ เปิดเวทีเสวนาหัวข้อการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพของประชาชนในเขตเมืองเชียงใหม่ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างเท่าเทียม

 


เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2565 เวลา 09.00 น. สภาผู้บริโภคจังหวัดเชียงใหม่ ได้เปิดเวทีเสวนาครั้งที่ 2/2565 ในหัวข้อ “การเข้าถึงระบบบริการสุขภาพของประชาชนในเขตเมืองเชียงใหม่” หนทางสู่การเข้าถึงบริการสุขภาพเขตเมืองอย่างทัดเทียม โดยมี นางมลวิภา ศิริโหราชัย ประธานสภาผู้บริโภคจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วย นางอัญชลี สุใจคำ อนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเขต 1 พร้อมด้วยตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันเป็นวิทยากรในการเสวนาในครั้งนี้ ซึ่งมีประชาชนในเขตตัวเมืองเชียงใหม่เข้าร่วมการเสวนาจำนวนมาก

 


การเปิดสภาผู้บริโภค และการเสวนาดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2545 และได้รับความคุ้มครองหลักประกันสุขภาพอย่างถ้วนหน้าด้วยความมั่นใจ และสามารถรับรู้สิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพ สามารถเข้าถึงการบริการภายใต้การทำงานร่วมกับเครือข่ายศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพ เครือข่ายประชาชนอื่น และได้มีข้อเสนอแนะต่อการเปิดสภาผู้บริโภคจังหวัดเชียงใหม่ ดังนี้

1.      1. มีการพัฒนาแนวทางระบบบริการ/ทิศทางการจัดบริการที่ชัดเจนเมื่อการประกาศให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่น

2.     2. มีการสนับสนุนชุมชนในภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพ เพื่อความคุม/ป้องกันโรค

3.    3.  การวางแนวทางและพัฒนากลไก ร่วมกับชุมชน/หน่วยบริการ/ปกครอง/ท้องที่ เพื่อลดปัญหาการถูกตีตรา/ทัศนคติที่เป็นเหตุให้เกิดการเลือกปฏิบัติในการรักษาพยาบาล

4.      4. มีการจัดการเรื่องร้องเรียน ประสบการณ์จากโควิด – 19 วัคซีนโควิด ควรเพิ่มช่องทางการร้องเรียน และมีการประสานงาน/ระบบคืนข้อมูลร้องเรียนแก่ประชาชนในพื้นที่

5.     5. มีการสรุปผลมติการทำงาน ส่งมอบข้อเสนอ/นโยบายให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สปสช. กลไก อคม., สสจ., รพ.นครพิงค์, ประธานชมรม รพ.เอกชน

6.    6.   การวางแนวทาง/กลไก ร่วมกับชุมชน/ หน่วยบริการ/ปกครอง/ท้องที่ เพื่อลดปัญหาการถูกตีตรา/ทัศนคติ

7.    7.  มีแผนการพัฒนาการรักษา/ภาระการดูแลคนไข้/แผนการส่งต่อ/ภาระการเงินการคลัง

8.   8.   นโยบายเฉพาะกลุ่มผู้มีปัญหาสถานะบุคคล และกลุ่มแรงงานข้ามชาติ

 


โดยมุ่งหวังหาแนวทางการจัดการแก้ไขปัญหาร่วมกันในการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขระหว่างคณะทำงานหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน และเครือข่ายศูนย์ประสานงานฯ ระดับจังหวัดและหน่วยงานให้บริการสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องของการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพของประชาชนในเขตเมืองต่อไป






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

องค์กรพันธมิตรภาครัฐ-เอกชน จับมือสร้างสรรค์โครงการต้นแบบ​ ลำพูน​ สุขก๋าย​ สบายใจ๋ (Lamphun​ Healing​ Town)​ พัฒนาพื้นที่แห่งความสุขกายสบายใจเมืองเก่าลำพูน

เปิดตัวโครงการ “เยาวชนวัฒนธรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว” ส่งเสริม สร้างสรรค์ เยาวชนให้ได้แสดงความสามารถ และศักยภาพตามความสนใจ ต่อยอดให้เป็นเยาวชนที่มีคุณภาพ

วอลโว่ฉลองครบ 50 ปีในไทย มุ่งก้าวสู่การจำหน่ายเฉพาะรถไฟฟ้าเต็มรูปแบบในปี 2025